วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เรื่อง การแทรกและจัดการข้อความบนเอกสาร

การป้อนข้อความลงบนเอกสาร
             ให้เราทดลองพิมพ์ข้อความในเอกสาร Word ถ้าข้อความที่เราพิมพ์มีความยาวเกินด้านขวาของเอกสาร Word ก็จะตัดคำ และขึ้นบรรทัดใหม่ให้โดยอัตโนมัติ เมื่อต้องการขึ้นย่อหน้าใหม่ให้กดคีย์ <Enter> และกดคีย์ <Tab> เพื่อเคาะย่อหน้า ดังตัวอย่างในรูป


  1. กด <Tab> เพื่อเคาะย่อหน้า
  2. ป้อนข้อความ
  3. กด <Enter> เพื่อขึ้นย่อหน้าใหม่
  4. พิมพ์ข้อความ. 


วิธีเลือกจุดแทรกข้อความ
             จุดแทรกข้อความ หรือเคอร์เซอร์ (Cursor) คือ สัญลักษณ์แสดงตำแหน่งแทรกข้อความที่เราพิมพ์ เราสามารถเลื่อนเคอร์เซอร์ไป ณ ตำแหน่งใดๆ ในเอกสารได้โดยใช้เมาส์ โดยให้คลิกเมาส์เลือกตำแหน่งที่ต้องการได้เลย

เคอร์เซอร์ (Cursor) = 



  1. เลื่อนตัวชี้เมาส์ไปตำแหน่งที่ต้องการ และคลิกเพื่อย้ายตำแหน่งแทรกข้อความมาที่นั้น
  2. ตำแหน่งตัวแทรกข้อความในตอนแรก

นอกจากการใช้เมาส์ เราก็สามารถเลื่อนได้โดยใช้คีย์บอร์ด ดังนี้

<Home>
เลื่อนไปยังต้นแถวของแถวนั้นๆ
<End>
เลื่อนไปท้ายแถวของแถวนั้นๆ
<PgUp>
เลื่อน Scroll bar ขึ้น
<PgDn>
เลื่อน Scroll bar ลง

การลบข้อความ
             เมื่อเราพิมพ์คำผิด หรือต้องการลบข้อความที่เราป้อนลงบนเอกสาร ก็ให้กดคีย์ <Del> เพื่อลบตัวอักษรที่อยู่ทางขวา หรือกดคีย์ <Bksp> เพื่อลบตัวอักษรที่อยู่ทางซ้าย


              ถ้ากดคีย์ <Del> จะป็นการลบตัวอักษร และถ้าเรากดคีย์ <Bksp> จะเป็นการลบตัวอักษร

              ในกรณีที่เราต้องการลบข้อความบางส่วน ให้เลือกข้อความนั้น และกดคีย์ <Del> ได้เลย
            
             เราสามารถใช้ปุ่ม Undo (เลิกทำ) เพื่อยกเลิกคำสั่งที่ได้กระทำไปครั้งล่าสุดได้ เช่น ถ้าเราสั่งลบข้อมูลโดยไม่ตั้งใจ ให้คลิกเมาส์ที่ปุ่มคำสั่ง Undo เลิกทำ บน Quick Access Toolbar ข้อมูลที่ถูกลบไปจะถูกคืนกลับมา

Undo (เลิกทำ) =



การคัดลอก/ย้ายข้อความ

             หากต้องพิมพ์ข้อความซ้ำๆ กัน เราควรใช้วิธีคัดลอกข้อความไปยังตำแหน่งที่ต้องการในเอกสารเพื่อประหยัดเวลา ซึ่งวิธีคัดลอกหรือย้ายข้อความสามารถทำได้ 2 วิธี คือการใช้เมาส์เพื่อคัดลอก/ย้ายข้อความ และการใช้คำสั่ง Copy / Cut และ Paste



  1. ใช้เมาส์เลือกข้อความ
  2. แดรกเมาส์ย้ายไปยังตำแหน่งที่ต้องการหากต้องการคัดลอกให้กด <Ctrl> ค้างไว้
  3. ปล่อยเมาส์ ข้อความจะถูกคัดลอกหรือย้ายมายังตำแหน่งใหม่

             วิธีคัดลอกหรือย้ายข้อความด้วยการใช้เมาส์นั้น เหมาะสำหรับการคัดลอกหรือย้ายข้อความไปยังตำแหน่งที่ไม่ไกลมากนัก เช่น คัดลอกหรือย้ายไปยังตำแหน่งที่อยู่บนเอกสารหน้าเดียวกัน หรือตำแหน่งที่อยู่ในย่อหน้าถัดไปเป็นต้น ดังนี้

การจัดข้อความให้อยู่กึ่งกลาง ชิดซ้าย หรือชิดขวา
             โดยปกติข้อความที่เราพิมพ์จะถูกจัดชิดทางด้านขวาของเอกสาร หากเราต้องการเปลี่ยนให้ข้อความถูกจัดอยู่กึ่งกลาง เช่น การจัดทำหน้าปกรายงาน การเน้นข้อความสำคัญ หรือจัดชิดซ้ายเอกสาร เช่น การลงท้ายจดหมาย หรือเอกสารสำคัญต่างๆ ก็สามารถทำได้ โดยการจัดข้อความที่เรากำหนดจะมีผลต่อข้อความทั้งย่อหน้า


  1. คลิกเมาส์เลือกย่อหน้าที่ต้องการจัดข้อความ
  2. คลิกเมาส์เลือกการวางข้อความ


ในกลุ่มเครื่องมือ Paragraph เราสามารถเลือกรูปแบบจัดวางข้อความ ดังนี้

วางข้อความให้ชิดซ้าย
วางข้อความให้อยู่ตรงกลาง
วางข้อความให้ชิดขวา 
วางข้อความให้เต็มบรรทัด

การแบ่งข้อความในเอกสารเป็นหลายคอลัมน์
             เราอาจแบ่งข้อความในเอกสารเป็นหลายคอลัมน์ เพื่อการจัดวางเอกสารที่เหมาะสมกับลักษณะงานนั้นๆ เช่น ในหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารทั่วไป เป็นต้น
             หากเราต้องการคู่มือฉบับเล็กๆ แต่มีเนื้อหาค่อนข้างมาก เราอาจเลือกแบ่งคอลัมน์ออกเป็น 2 คอลัมน์หรือมากกว่า เพื่อให้จัดวางเนื้อหาได้มากขึ้นต่อ 1 หน้า และทำให้จำนวนหน้าของเอกสารลดลงได้ด้วย การแบ่งคอลัมน์ของทั้งเอกสาร สามารถทำได้ดังนี้


  1. ในกลุ่มคำสั่ง Page Setup (ตั้งค่าหน้ากระดาษ) ให้คลิกปุ่ม Columns (คอลัมน์)
  2. คลิกเลือกจำนวนคอลัมน์
  3. ผลลัพธ์ในการแบ่งคอลัมน์ในเอกสาร


วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การจัดการงานเอกสารกับ Word 2010

เริ่มต้นใช้งาน Word 2010

          เราสามารถเข้าสู่โปรแกรม และเริ่มต้นใช้งาน Word 2010 ได้ โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม


เลือก All Programs และเลือก Microsoft Office>Microsoft Word 2010


เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Word 2010 แล้ว จะปรากฏหน้าจอหลักสำหรับการสร้าง และตกแต่งเอกสารที่มีส่วนประกอบสำคัญที่แยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อการทำงาน ดังนี้



  1. Ribbon แถบรวมคำสั่งทั้งหมดที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยแบ่งเป็นแท็บและปุ่มคำสั่งให้เลือกใช้ได้ทันที
  2. Quick Access Toolbar (แถบเครื่องมือด่วน) แถบเครื่องมือที่รวมคำสั่งที่ใช้งานประจำเพื่อเรียกใช้ได้ง่าย
  3. แถบหัวเรื่อง (Title bar) เป็นแถบที่แสดงชื่อไฟล์ที่เปิดอยู่
  4. จุดแทรกข้อความ (Insertion Point) คือสัญลักษณ์แสดงตำแหน่งแทรกข้อความ
  5. แถบสถานะ (Status bar) แสดงสถานะ การทำงานในขณะนั้นๆ
  6. View เป็นส่วนที่ใช้เปลี่ยนมุมมอง การแสดงข้อความใน Word


แถบเครื่องมือ Word 2010

          เนื่องจากเครื่องมือต่างๆ ใน Word 2010 ได้ถูกรวมเข้าไว้ในแถบเครื่องมือที่เราต้องใช้งานตลอดระหว่างการสร้างเอกสารบน Word 2010 เราจะมาทำความเข้าใจการทำงาน และไปดูแท็บต่างๆ บนแถบเครื่องมือกัน


แท็บ File (การจัดการไฟล์)
          รวบรวมคำสั่งเกี่ยวกับการบันทึก การเปิดปิดไฟล์ การสร้างไฟล์ใหม่ การพิมพ์เอกสาร และรายละเอียดของไฟล์ที่กำลังเปิดใช้งานอยู่


แท็บ Home (หน้าแรก)
          รวบรวมคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานกับข้อมูลที่คัดลอกไว้ (กลุ่มคำสั่ง Clipboard) การเลือกแบบอักษร (กลุ่มคำสั่ง Font) การกำหนดย่อหน้า (กลุ่มคำสั่ง Paragraph) การกำหนดลักษณะตัวอักษร (กลุ่มคำสั่ง Styles) และเครื่องมือค้นหา/แทนที่ข้อความ (กลุ่มคำสั่ง Editing)


แท็บ Insert (แทรก)
          คำสั่งเกี่ยวกับการแทรกวัตถุประเภทต่างๆ ลงบนเอกสาร เช่น ตาราง (กลุ่มคำสั่ง Tables) ภาพ/คลิปอาร์ต/รูปวาด (กลุ่มคำสั่ง Illustrations) หัวท้ายกระดาษ (กลุ่มคำสั่ง Header & Footer) ข้อความ (กลุ่มคำสั่ง Text) และสัญลักษณ์พิเศษ (กลุ่มคำสั่ง Symbols)


แท็บ Page Layout (เค้าโครงหน้ากระดาษ)
          คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบสีและฟอนต์ (กลุ่มคำสั่ง Themes) การตั้งค่าหน้ากระดาษ (กลุ่มคำสั่ง Page Setup) การกำหนดพื้นหลังหน้ากระดาษ (กลุ่มคำสั่ง Page Background) การกำหนดระยะย่อหน้า (กลุ่มคำสั่ง Paragraph) การจัดเรียงข้อความ/วัตถุ (กลุ่มคำสั่ง Arrange)



แท็บ References (การอ้างอิง)
          เครื่องมือสร้างส่วนประกอบเพิ่มเติมของเอกสาร สารบัญ (กลุ่มคำสั่ง Table of Contents)

เชิงอรรถ (กลุ่มคำสั่ง Footnote) ข้อมูลอ้างอิงและบรรณานุกรม (กลุ่มคำสั่ง Citations & Bibliography) คำบรรยายภาพ (กลุ่มคำสั่ง Captions) ดัชนี (กลุ่มคำสั่ง Index) เครื่องหมายอ้างอิง (กลุ่มคำสั่ง Table of Authorities)



แท็บ Mailings (การส่งจดหมาย)

          รวมคำสั่งเกี่ยวกับการสร้างจดหมาย การจ่าหน้าซองจดหมาย (กลุ่มคำสั่ง Create) การสร้างจดหมายเวียน (กลุ่มคำสั่ง Start Mail Merge) การเขียนและการแทรกเขตข้อมูลในจดหมาย (กลุ่มคำสั่ง Write & Insert Fields) ผลการแสดงตัวอย่าง (กลุ่มคำสั่ง Preview Results) การรวมเอกสาร (กลุ่มคำสั่ง Finish)


 แท็บ Review (ตรวจทาน)
          คำสั่งเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสาร การพิสูจน์อักษร (กลุ่มคำสั่ง Proofing) การแทรกข้อคิดเห็นบนเอกสาร (กลุ่มคำสั่ง Comments) กำหนดการติดตาม (กลุ่มคำสั่ง Tracking) การปรับแก้ไขข้อคิดเห็น (กลุ่มคำสั่ง Changes) การเปรียบเทียบเอกสาร (กลุ่มคำสั่ง Compare) การป้องกันเอกสาร (กลุ่มคำสั่ง Protect) และ การใช้ปากกาสำหรับเขียนบนไฟล์ (กลุ่มคำสั่ง Ink)


แท็บ View (มุมมอง)
          คำสั่งสำหรับเลือกมุมมองในการทำงานกับเอกสาร (กลุ่มคำสั่ง Document Views) การซ่อนแสดงส่วนประกอบบนหน้าต่างโปรแกรม (กลุ่มคำสั่ง Show/Hide) การย่อ/ขยายเอกสาร (กลุ่มคำสั่ง Zoom) การจัดหน้าจอ (กลุ่มคำสั่ง Window) การทำมาโคร (กลุ่มคำสั่ง Macros)

การสร้างเอกสารใหม่

          หากเราต้องการสร้างเอกสารทั่วไป หรือกำลังทำงานเอกสารหนึ่งอยู่ และต้องการสร้างเอกสารใหม่ขึ้นมา หรือเพิ่งเริ่มใช้งานโปรแกรม Microsoft Word และอยากทดลองสร้างเอกสารง่ายๆ ไม่ต้องการรูปแบบที่ซับซ้อน การเลือกสร้างใหม่ ทำได้ดังนี้


  1. คลิกแท็บ แฟ้ม และเลือกเมนู สร้าง
  2. คลิกเลือก เอกสารเปล่า
  3. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม สร้าง เพื่อสร้างเอกสารใหม่
  4. แสดงเอกสารใหม่ที่ได้


นอกจากการสร้างเอกสารเปล่าแล้ว ใน word 2010 เรายังสามารถเลือกสร้างเอกสารในรูปแบบอื่นๆ ได้อีก เช่น สร้างบล็อกสำหรับนำเสนอบนอินเตอร์เน็ต สร้างเอกสารใหม่จากเทมเพลต  สร้างเอกสารใหม่จากเอกสารที่มีอยู่แล้ว เป็นต้น


การบันทึกเอกสารที่สร้าง

          หลังจากที่เราพิมพ์ข้อมูลต่างๆ ลงบนเอกสารที่สร้างขึ้นเรียบร้อยแล้ว ก่อนออกโปรแกรม Word เราต้องทำการบันทึก หรือเซฟ (Save) เอกสารที่พิมพ์ไว้ก่อน จึงจะนำเอกสารนี้มาใช้ในครั้งต่อไปได้อีก และนามสกุลไฟล์ที่ได้จะเป็น .docx (ในเวอร์ชั่น 97, 2000 และ 2003 จะเป็น .doc)



  1. คลิกแท็บ แฟ้ม และเลือก บันทึก หรือกดปุ่ม <Ctrl+S>
  2. ระบุตำแหน่งเก็บข้อมูล
  3. ตั้งชื่อให้กับไฟล์ที่บันทึก
  4. กด บันทึก เพื่อจัดเก็บไฟล์


การออกจากโปรแกรม

          หลักจากที่เราเสร็จสิ้นการใช้ Microsoft Word และได้ทำการบรรทุกเอกสาร แล้วก่อนปิดเครื่องหรือเรียกใช้โปรแกรมอื่นขึ้นมาทำงาน เราควรออกจากโปรแกรม Word เสียก่อน ดังขั้นตอนต่อไปนี้



คลิกเมาส์ เพื่อปิดเอกสารและออกจากโปรแกรม

หรือ

คลิกแท็บ แฟ้ม จากนั้นเลือก จบการทำงาน